10 July, 2009

อ้วนไม่อ้วนดูตรงไหน


อ้วนไม่อ้วนดูตรงไหนการประเมินตัวเองว่าอ้วนหรือไม่อ้วนดูได้จากไหน เราใช้มาตรฐาน 3 อย่างในการประเมินว่าอ้วนขนาดไหน
1. ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เป็นการประเมินน้ำหนักที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อทำให้เรารู้ถึงน้ำหนักตัวที่เหมาะสมโดยใช้ความสูงและน้ำหนักเป็นเกณฆ์ในการพิจารณา

การหาค่าดัชนีมวลกาย
1. เปลี่ยนความสูงจาก เซนติเมตรให้เป็นเมตร เช่น 170 เซนติเมตร ความสูงเป็นเมตร 1.7
2. นำความสูงเป็นเมตรมายกกำลัง 2 เช่น 1.7x1.7 = 2.89
3. นำน้ำหนักตัวมาหารด้วยผลลัพธ์ส่วนสูงเป็นเมตรที่ยกกำลัง 2 แล้ว (จากข้อ 2)

เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ BMI = น้ำหนักตัว/ความสูงเป็นเมตรยกกำลัง 2

ดัชนีมวลกายแบ่งน้ำหนักเป็นระดับต่างๆดังนี้

น้อยกว่า 20 (19 สำหรับผู้หญิง) = น้ำหนักต่ำกว่าเกณฆ์
20-24.99 = น้ำหนักอยู่ในเกณฆ์ปกติ
25-29.99 = น้ำหนักเกินพิกัด
30-34.99 = อ้วนระดับที่ 1
35-39.99 = อ้วนระดับที่ 2
40 หรือมากกว่า = อ้วนในระดับที่ก่อให้เกิดอันตราย

ดัชนีมวลกายสามารถประเมิณความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอันเนื่องจากน้ำหนักอย่างไร

น้ำหนัก = ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
น้อยกว่า 20.00 = ปานกลางไปจนถึงสูง
20.00-21.99 = ต่ำ
22.00-24.99 = ต่ำมาก
25.00-29.99 = ต่ำ
30.00-34.99 = ปานกลาง
35.00-39.99 = สูงมากกว่า
40.00 = สูงมาก

ปัญหาสุขภาพที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากน้ำหนักตัวที่สูงเกิน


  • ความดันโลหิตสูง

  • โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

  • เส้นเลือดในสมองอุดตัน

  • ความไม่สมดุลของระบบเผาผลาญไขมัน

  • อาการต้านอินซูลิน

  • เบาหวานชนิดที่ 2

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • โรคข้อเสื่อม

  • อาหารไหลย้อนกลับ

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
2.ความยาวของเส้นรอบเอว
คนที่ค่า BMI อยู่ที่ 34 หรือน้อยกว่านั้น นอกเหนือจากดัชนีมวลกายเส้นรอบเอวก็สามารถทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรคได้เช่นกัน ไขมันที่เก็บไว้ที่รอบๆช่องท้องและกระเพาะอาหารจำเป็นตัวกำหนดการเกิดโรคที่ชัดเจนกว่าไขมันที่เก็บไว้ที่ส่วนอื่น

เส้นรอบเอวที่ส่งผลดีต่อสุขภาพควรอยู่ที่ระดับใด

ผู้หญิง
เอวมากกว่า 31 นิ้ว (ประมาณ 80 เซนติเมตร)แสดงถึงความเสี่ยงต่อโรคที่ไม่รุนแรง
เอวมากกว่า 35 นิ้ว (ประมาณ 90 เซนติเมตร)แสดงถึงความเสี่ยงต่อโรคที่เพิ่มมากขึ้น

ผู้ชาย
เอวมากกว่า 37 นิ้ว (ประมาณ 94 เซนติเมตร)แสดงถึงความเสี่ยงต่อโรคที่ไม่รุนแรง
เอวมากกว่า 40 นิ้ว (ประมาณ 102 เซนติเมตร)แสดงถึงความเสี่ยงต่อโรคที่เพิ่มมากขึ้น

3.ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากความอ้วน
นอกจากดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากความอ้วนอื่นๆอีกด้วย ดังนี้


  • ความดันโลหิต

  • สูงคอเลสเตอรอล LDL สูง (คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี)

  • คอเลสเตอรอล HDL ต่ำ (คอเลสเตอรอลชนิดดี)

  • ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

  • ครอบครัวมีประวัติเกิดโรคหัวใจ

  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย

  • สูบบุหรี่


No comments:

Post a Comment