หากเราเคยได้ยินว่า อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนเป้นไขมัน หรืออาหารบางอย่างกินแล้วจะช่วยลดน้ำหนัก บางอย่างกินแล้วอ้วน วันนี้มีข้อมูล ข้อเท็จจริงมาฝากครับ
**ความเชื่อ : อาหารไร้ไขมัน (Fat-Free} เท่ากับอาหารไร้แคลอรี่
*ข้อเท็จจริง : บางคนชะล่าใจว่าอาหารที่ตนเองกินเป็นอาหารไร้ไขมัน จึงกินอย่างไม่บันยะบันยัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุกกี้ เค้ก และแครกเกอร์ ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วอาหารทีเขียนว่า fat-free หรือไร้ไขมันบนฉลากนั้น อาจมีแคลอรีเท่ากับหรือมากกว่าอาหารปกติ ฉะนั้นควรค้นหาความจริงของอาหาร(ที่อ้างว่า)ไร้ไขมันด้วยการ เช่นดูที่ฉลากว่าแต่ละห่อแต่ละซองให้แคลอรีเท่าไร ผลไม้และผักเป็นอาหารที่มีไขมันและแคลอรีต่ำตามธรรมชาติ ส่วนอาหารไขมันต่ำหรืออาหารไมมีไขมันชนิดอื่นอาจจะมีแคลอรี่ ในปริมาณที่สูง เพราะการจะทำให้อาหารไร้ไขมันหรีอไม่มีไขมัน มีรสชาติดีขึ้นได้จะต้องใส่น้ำตาล แป้ง หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ มากกว่าปกติ และส่วนผสมเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีแคลอรี่สูง และทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
*ความเชื่อ: กินแต่ผักสลัดทำให้ผอม
*ข้อเท็จจริง: เบื้องหลังของทฤษฎีนี้ก็คือ คุณสามารถกินอาหารอะไรก็ได้ที่ให้พลังงานต่ำ อย่างเช่นผักสลัด ชึ่ง
แม้ว่าจะกินเป็นจำนวนมาก ก็ยังได้แคลอรีเพียงน้อยนิด เพียงแต่ว่าความคิดนี้อาจจะเป็นจริงในบางแง่ เพราะแม้ว่าผักสลัดมีแคลอรีต่ำ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้กินผักลลัดเปล่า ๆ และน้ำสลัดส่วนมากมักมีไขมันสูง ฉะนั้น
ควรระวังไว้ให้ดี
*ความเชื่อ: คาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาล เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขี้น
*ข้อเท็จจริง : คาร์โบไฮเดรตไม่ได้เป็นเหตุให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หากกินในปริมาณที่ร่างกายสามารถเผาผลาญได้หมด ไขมันกับโปรตีนก็เหมือนกัน รวมถึงยังพบว่า คนที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมน้ำหนักมักจะกิน
อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก แต่กินอาหาที่มีไขมันในปริมาณน้อย รวมถึงยังระมัดระวังการกิน
โดยคำนึงถึงปริมาณแคลอรีรวมที่ร่างกายได้รับ อย่างไรก็ดี คนที่กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงมาก ๆ แต่กิน
โปรตีนและไขมันในปริมาณที่น้อยจะเกิดความรู้สึกหิวเร็ว จึงอาจจะทำให้กินมากเกินไป
*ความเชื่อ: การกินอาหารที่มีโปรตีนสูง จะทาให้เกิดภาวะคีโตซิส (ketosis) ซึ่งช่วยลดความหิว
*ข้อเท็จจริง: ภาวะคีโตซิส เกิดขึ้นเมื่อร่างกายถูกจำกัดการบริโภคแป้งและน้ำตาล อันเนื่องมาจากการกินแต่อาหารประเภทโปรตีน ร่างกายจึงหันไปเผาผลาลไขมันที่สะสมอยู่แทนที่จะเป็นคาร์โบไฮเดรต แม้ คีโตนบอดี้ส์ที่เกิดขึ้นจากภาวะคีโตซิส จะทำให้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว แต่ไม่ได้ ทำให้ความอยากกินอาหารลดลง อย่างไรก็ดี การกินโปรตีนในปริมาณทีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคุณจะช่วยลดความหิว และทำให้น้ำหนักลดลงไต้ เพียงแต่ว่า น้ำหนักที่ลดลงจะเกิดจากการเสียน้ำและกล้ามเนื้อ ไม่ได้เกิดจากการลดลงของไขมัน ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนักโดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณก็คือ การลด ปริมาณแคลอรี่ลง แต่ยังคงกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน อย่างสมดุล
*ความเชื่อ: ร่างกายจะเผาผลาญไขมันได้ด้วยการกินอาหารบางอยาง เช่น เกรฟฟรุ๊ตและแกงจืดผักกาดขาว
*ข้อเท็จจริง: คุณควรกินเกรพฟรุ๊ตครึ่งลูก ก่อนการกินอาหารเพื่อที่จะได้ รับประโยชน์สูงสุดจากเอนไซม์ ที่ช่วย
เผาผลาญไขมันที่อยู่ในผลไม้ชนิดนี้ เกรพฟรุ๊ตไม่มีไขมัน จึงมีแคลอรี่และโซเดียมต่ำ แถมมีวิตามินซีสูง แต่การ
กินเกรพฟรุ๊ต ที่ไม่มีโปรตีน ตลอดจนวิตามินและเกลือแร่สำคัญอีกหลายชนิดก็ไม่ดีต่อร่างกายในระยะยาว เพราะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับแกงจืดผักกาดขาว ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายเกิดอาการหวิว ๆ และไม่มีแรงเพราะว่ามีโปรตีน วิตามินและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนต่ำ จริงอยู่น้ำหนักคุณอาจจะลดลง แต่คุณอาจจะรู้สึกวิงเวียนเกินกว่าจะเอร็ดอร่อยจำไว้ว่า ไม่มีอาหารชนิดไหนที่จะช่วยเผาผลาญไขมันได้ แม้แต่อาหารที่มีกาเฟอีนสูง ซึ่งอาจจะช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญให้เพิ่มขึ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ไม่ทำให้น้ำหนักลด
*ความเชื่อ: การออกกำลังกายทำให้กินมากขึ้นฉะนั้น อย่าออกกำลังกายดีกว่า
*ข้อเท็จจริง: มีการวิจัยพบว่าหลังจากออกกำลังกายนาน 20 นาที ผู้ที่ออกกำลังกายไม่ได้กินอาหารมากกว่าผู้ทีไม่ได้ออกกำลังกายแต่อย่างใด แต่ที่แตกต่างกัน คือ ผู้ที่ออกกำลังกายจะรู้สึกว่าอาหารมีรสชาติอร่อยขึ้น
*ความเชื่อ: การกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงในตอนเย็นจะทำให้น้ำหนักขึ้น
*ข้อเท็จจริง: ไม่ว่าจะกินมี้อไหนก็ทำให้อ้วน หากร่างกายไม่สามารถเผาผลาญอาหารที่มีแคลอรี่สูง ๆ ที่คุณกิน
เข้าไปได้หมด ฉะนั้นควรระวังอย่ากินขนมขบเคี้ยวขณะอยู่หน้าจอทีวี เพราะคณจะกินเพลินจนปริมาณแคลอรี่พุ่งสูง ฉะนั้นขอย้ำอีกครั้งว่าวิธีการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด คือ การลดปริมาณแคลอรี่จากอาหารที่กิน และออกกำลังกายหรีอขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น
ที่มา
http://www.thaicalory.com/